วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การนิเทศแบบควบรวม

นิเทศแบบควบรวม เป็นรูปแบบใหม่ของการนิเทศในภาคเรียนนี้ มีข้อดี คือ ลดภาระงานให้อาจารย์นิเทศลง แต่เพิ่มภาระงานให้สถานศึกษา หากสถานศึกษาเข้มแข็งในระบบดูแลนักศึกษาก็นับว่าโชคดี บางสถานศึกษายังอ่อนแอก็อาจต้องใช้วิธีหนุนเสริมซึ่งเป็นโอกาสที่ท้าทาย  อย่างไร?...ไม่ลอง ไม่รู้...การเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการเรียนรู้...เช่นกัน!

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภาษาไทย..เอกลักษณ์ชาติ

เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙กรกฏาคม๒๕๕๖ ครูฝึกให้ความสำคัญกับวันนี้ด้วยการทำกิจกรรมอะไรเชื่อมโยงกับผู้เรียนได้บ้าง?.. ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสืบทอด อนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง คงอยู่คู่แผ่นดินไทยไปใด้นานเท่านาน...แสดงถึงการทดแทนคุณแผ่นดินเกิดในบทบาทครูเล็กๆคนหนึ่งที่สำนึกในพระคุณของบรรพบุรุษ วีรกษัตริย์ผู้คิดประดิษฐ์อักษรไทยมาให้ลูกหลานไทยได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมที่ครูฝึกควรทำอาจมีได้หลากหลายทั้งสอดแทรกในรายวิชา กิจกรรมเสริม การจัดบอร์ดนิทรรศการ การประกวดแข่งขันทักษะทางภาษา เป็นต้น...ผลงานเหล่านี้คงมีให้ครูได้ชื่นชมกันบ้างในการนิเทศคราวนี้นะคะ...

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระยะกลางน้ำของงานนิเทศ

การบริหารจัดการงานนิเทศที่ดีในระยะกลางน้ำจะช่วยให้สามารถมองเห็นพัฒนาการ ของงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูว่าทุกภาระงานกำลังเคลื่อนตัวไปสู่รูปธรรมของความสำเร็จได้อย่างไร มีปัญหาอุปสรรค์ มีความสำเร็จโดดเด่นอะไรที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันได้ทั้งระดับภายใน และภายนอกโรงเรียน ทั้งฝ่ายฝึกและแหล่งฝึกสามารถจัดกิจกรรมเสริมได้ตามเหมาะสม  สำหรับภาคเรียนนี้ฝ่ายฝึกกำหนดการนิเทศลดจาก๔เหลือ๒ครั้ง สำหรับโรงเรียนทุ่งสง สตรีทุ่งสง ทุ่งสงวิทยา กำหนดให้ไปนิเทศครั้งแรกวันที่๓๑กค.๒๕๕๖นี้ค่ะ ชื่อรูปแบบนิเทศน่าจะเป็น"ต้นน้ำควบกลางน้ำ"...How to...?

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครูช่าง...กับงานวิจัย

มีโอกาสเป็นวิทยากรการทำวิจัยให้ครูช่าง ครูพันธุ์อา เมื่อ๒๔กค.๒๕๕๖ ณ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เดิมชื่อโรงเรียนเครื่องถม ริเริ่มก่อตั้งโดยพระธรรมรัตนธัช(ท่านม่วง)สมัยรัชกาลที่๕ พอมองเห็นโจทย์วิจัยเชิงระบบที่น่าคิดต่อยอด จากโรงเรียนเครื่องถม สู่วิทยาลัยเครื่องถม สู่มหาวิทยาลัยเครื่องถมไทยหนึ่งเดียวในโลก มีศักยภาพและโอกาสที่สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร กับการเตรียมรับAEC เมืองนครมีดีเราจะช่วยกันรักษาต่อยอดสิ่งดีนี้ไว้ได้อย่างไร... 

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนรู้กับการนิเทศครั้งแรก

การออกนิเทศในช่วงเดือนแรกของแต่ละภาคเรียนมีความสำคัญมากเพราะเป็นช่วงแห่งการปรับตัวทั้งครูฝึก ทั้งนักเรียน ระยะนี้ครูฝึกจำนวนมากมักมีปัญหาด้าน การเตรียมสอน การควบคุมชั้น   บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ ความรับผิดชอบ... การได้ไปพบปะทุกฝ่ายร่วมกันในสถานศึกษาด้วยประเด็นเหล่านี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้ครูฝึกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความเป็นครูในระยะก้าวแรกอย่างมั่นคง ทั้งตัว หัวและ ใจ...

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เตรียมรับการนิเทศเพื่อพัฒนา

การนิเทศเป็นงานสร้างกัลยาณมิตร สร้างความเข้าใจร่วมกันเพื่อแสวงหาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาภาระงานฝึกให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น งานนิเทศจึงไม่ใช่การตำหนิโดยไม่มีทิศทางแก้ไข ไม่ใช่การมาจับผิดหรือกดดันก่อเกิดความเครียด แต่ตรงกันข้ามการนิเทศแบบสร้างสรรค์เราสามารถสร้างได้ พัฒนาได้ ครูฝึกก็ยินดีร่วมกระบวนการเรียนรู้ไปด้วยกัน...ไม่มีใครเก่งโดยไม่ต้องการคำชี้แนะ  การนิเทศจึงช่วยให้เราเห็นทางพัฒนาที่ดีกว่านั่นเอง ...